สื่อฉาย

 
 
 

ความหมายของสื่อฉาย

   เครื่องฉายเป็นอุปกรณ์ฉายภาพขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพหรือเนื้อหาได้ชัดเจนจากจอรับภาพ กระตุ้นความสนใจได้ดี เครื่องฉายภาพที่ใช้ในวงการศึกษาปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องฉายสไลด์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องต่อพ่วงกับเครื่องฉายที่สามารถฉายได้หลายรูปแบบ เช่น วิชวลไลเซอร์

 

 

องค์ประกอบของสื่อฉาย

1.เครื่องฉาย (projector)
  • หลอดฉาย (Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการฉาย



 
หลอดฉายในเครื่องฉายดิจิตอล ของ BenQ
 
ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับหลอดฉายต่างๆ ดูได้ที่ห้องสมุดนี้
 

  • แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมแบบก้นกระทะ ฉาบด้วยวัสดุสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงของหลอดฉายให้พุ่งออกเป็นลำแสงขนานไปในทิศทางเดียวกัน
 

 

  
  • เลนซ์รวมแสง (Condenser Lens) เป็นชุดของเลนซ์นูน ทำหน้าที่รวมหรือบีบลำแสงให้มีความเข้มสูงไปผ่านที่วัสดุที่จะฉาย ในเครื่องฉายบางแบบ


 

  • แผ่นกรองความร้อน (Heat Filter/Heat absorbing glass) ป้องกันความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้ตกกระทบเลนซ์ และวัสดุฉายมากเกินไป

 
  • เลนซ์ฉายภาพ (Projection Lens) เป็นชุดของเลนซ์ที่มีคุณสมบัติเป็นเลนซ์นูน ทำหน้าที่บังคับแสงที่ผ่านมาจากวัสดุฉายให้ปรากฏที่จอ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจน



 
  • เลนซ์เกลี่ยแสง (Freshnel Lens) มีใช้ในเครื่องฉายวัสดุโปร่งใสเท่านั้น ทำหน้าที่คล้ายกับเลนซ์รวมแสง ช่วยรวมแสงร่วมกับเลนซ์รวมแสง

 
 
 
  • พัดลม (Fan) ใช้สำหรับการระบายความร้อนออกจากเครื่องฉาย


2 .วัสดุฉาย (Material projected)

อาจเป็นแผ่นสไลด์ ม้วนฟิล์ม หรือหนังสือ

 
 
3.จอฉาย (Projection Screen)
 
การควบคุมสภาพการฉาย (Projection Condition)
การฉายจะไม่มีประสิทธิภาพหากละเลยในสภาพแวดล้อม ซึ่งควรพิจารณาองค์ประกอบ 6 ข้อ ดังนี้
1.จำนวนผู้ชม
2.การควบคุมแสง (Light control) ให้เหมาะสมกับประเภทของเครื่องฉาย และไม่ควรให้แสงกระทบจอ ซึ่งทำ ให้ภาพบนจอไม่ชัดเจน
3.การระบายอากาศ (Ventilation) เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
4.ระบบเสียง (Acoustic control) ในแง่ของระบบเสียงและการใช้วัสดุที่ทำ ให้คุณภาพเสียงดีขึ้น และการออกแบบโครงสร้างของอาคาร
5.การจัดที่นั่งดู เพื่อให้การดูภาพชัดเจนจะต้องพิจารณาว่าได้ที่นั่งดูที่ดีหรือยัง ซึ่งที่นั่งที่เหมาะสมคือ แถวหน้าอยู่ห่างจากจอประมาณ 2 เท่าของความกว้างขอจอ ส่วนแถวหลังคือ 6 เท่าของความกว้างของจอ นอกจากนี้คุณภาพของจอและการติดตั้งก็มีส่วนสำคัญ คือ ปกติส่วนใหญ่จะติดตั้งจอที่มุมห้อง เพราะหากติดตั้งจอตรงกลางจะเป็นปัญหาไม่เห็นภาพชัดเจนแก่ผู้ที่นั่งอยู่แถวหน้าตรงริมๆแถว
6.การติดตั้งเครื่องฉายให้สูงพ้นศีรษะของผู้ชมในห้อง
สภาพของการฉายที่ดี
1. การควบคุมแสงสว่าง จะต้องควบคุมแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง เช่นจากสว่างไปค่อย ๆ มืด หรือจากมืดไปค่อย ๆ สว่าง
2. ระบบเสียง  ต้องชัดเจนทั่วทั้งห้องฉาย
3. ระบบระบายอากาศ  ต้องระบายอากาศได้ดี
4. ความชัดเจนของภาพ ทุกจุดไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ keystone or distortion
 
จุดเด่นของสื่อฉาย
1.แสดงภาพตามความเป็นจริง ทำให้จำได้ง่าย
2.สัมผัสได้ด้วยประสารทสัมผัสทั้ง 5  จึงเกิดการรับรู้ได้ดี
3.พิจารณารายละเอียดได้ จึงเกิดการรับรู้ได้ดี
4.เหมาะสำหรับการแสดงสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  (เช่น การแสดงอวัยวะ ภายในของมนุษย์  สัตว์)
จุดด้อยของสื่อฉาย
1.การจัดหาลำบาก
2.บางครั้งราคาสูงเกินไป
3.ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
4.ต้องอาศัยความชำนาญในการใช้ 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น