สื่อวัสดุกราฟิกและวัสดุสามมิติ




ความหมายของกราฟิกทางการศึกษา 
กราฟิกทางการศึกษา  หมายถึง สื่อการสอนประเภทหนึ่งที่นำเอาหลักการทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อใช้ในการถ่ายทอดเรื่องราว แนวคิด ความรู้ ข้อเท็จจริงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงกัน
 
ประเภทของสื่อวัสดุกราฟิก
1.แผนภูมิ (Chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงลักษณะสัมพันธ์ ความต่อเนื่อง ความแตกต่าง องค์ประกอบ กระบวนการ ความเปลี่ยนแปลง โดยใช้เส้นภาพถ่าย สัญลักษณ์ เครื่องหมายและคำบรรยายประกอบกัน
 
   แผนภูมิแบบตาราง 

 

แผนภูมิต้นไม้


แผนภูมิแบบสายธารา

 

แผนภูมิแบบองค์การ

 

แผนภูมิแบบต่อเนื่อง

 

แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ

 

แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ



แผนภูมิแบบอธิบายภาพ
            2.แผนภาพ (Diagrams) เป็นภาพวาดหรือภาพร่างคราวๆ รวมถึงตัวอักษร สัญลักษณ์ แสดงให้เห็นเฉพาะส่วนที่สำคัญของวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
 
 
แผนภาพลายเส้น


แผนภาพแบบรูปภาพ

         

แผนภาพแบบผสม



แผนภาพแบบบล็อก




 3.แผนสถิติ (Graphs) การแสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข โดยใช้เส้น รูปร่าง พื้นที่ หรือรูปภาพเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ช่วยให้เข้าใจข้อมูลเหล่านั้นได้ง่ายและชัดเจน 



แผนสถิติแบบเส้น (Line Graph)
  
แผนสถิติแบบแท่ง(Bar Graph)


แผนสถิติแบบวงกลม (Circle OR Pie Graph)
 

ลักษณะของแผนภูมิที่ดี

1.ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน แสดงแนวคิดเดียว
2.เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย ตรงกับวัตถุประสงค์
3.ดึงดูดความสนใจ มีขนาดพอเหมาะ
4.ใช้สีเรียบๆ เพียง 2-3 สี หรือใช้เพื่อเน้นความสนใจ
5.ตัวอักษรอ่านง่าย และควรเป็นแบบเดียวกันนอกจากต้องการเน้น
6.ชื่อเรื่องและเนื้อหาควรสอดคล้องกับภาพและใช้ตัวอักษรที่โตกว่าคำบรรยาย

ลักษณะของแผนสถิติที่ดี

1. แผนสถิติ ไม่ควรแสดงความสัมพันธ์หรือเปรียบเทียบข้อมูลเยอะเกินไป
2. ควรมีชื่อเรื่องของแผนสถิติ
3. ตัวเลขหรือสัญลักษณ์ ควรมีขนาดโตพอสมควร มีความสวยงาม
4. ถ้ามีการใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย ตัวเลข สี ควรแสดงความหมายอย่างชัดเจน


ประเภทของสื่อวัสดุ สามมิติ
1.หุ่นจำลอง (models) วัสดุสามมิติที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริง เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถจะใช้ของจริง ประกอบการเรียนการสอนได้
 
 

2.ของจริง (real objects) สิ่งเร้าต่างๆที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5


 

 

3.ป้ายนิเทศ (bulletin boards) เป็นทัศน์วัสดุที่นำมาใช้ในการแสดงเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้ดูโดยใช้วัสดุหลายอย่างติดไว้บนแผ่นป้าย
 
 
 
 

4.อันตรทัศน์ (diorama) เป็นทัศน์วัสดุที่ออกแบบเป็นสื่อ 3 มิติเลียนแบบธรรมชาติหรือบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่เป็นของจริง กระตุ้นความสนใจได้ดีด้วยลักษณะเป็นฉาก ที่มีความลึกคล้ายกับของจริง
 
 

 
ข้อดีของสื่อวัสดุ 3 มิติ
1. อยู่ในลักษณะ 3 มิติ สามารถจับต้องและพิจารณา รายละเอียดได้
2. เหมาะสำหรับการแสดงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า  
3. สามารถใช้แสดงหน้าที่และลักษณะส่วนประกอบ
4. ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่าง ๆ
5. หุ่นบางอย่างสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุท้องถิ่นที่หาได้
 
ข้อจำกัดของสื่อวัสดุ 3 มิติ
1. ต้องอาศัยความชำนาญในการผลิต
2. ส่วนมากราคาจะแพง
3. ปกติเหมาะสำหรับการแสดงต่อกลุ่มย่อย
4. ชำรุดเสียหายได้ง่าย
5. ถ้าทำได้ไม่เหมือนของจริงทุกประการ บางครั้งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
4. วัสดุกราฟิก เช่น แผนภูมิ แผนภาพ โปสเตอร์ ภาพถ่าย ภาพเขียน การ์ตูน
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น